Headlines News :
Home » » ศาลแขวงนครศรีธรรมราช เข้าศึกษาดูงานศาลจังหวัดสงขลา วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

ศาลแขวงนครศรีธรรมราช เข้าศึกษาดูงานศาลจังหวัดสงขลา วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖

Written By Unknown on วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 | 01:56

        เมื่อ วันที่ ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๖  เวลา ๑๓.๓๐ - ๑๖.๐๐ น. นายวสุพัชร์  จงเพิ่มวัฒนะผล  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา   นายปรารภ เทพรักษ์  ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการประจำศาลจังหวัดสงขลา  พร้อมด้วยหัวหน้าส่วน  และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง  ให้การต้อนรับ นางเยาวนิตย์  จันทร์มณี  เจ้าพนักงานศาลยุติธรรมชำนาญการ ศาลแขวงนครศรีธรรมราช  และคณะจำนวน 15 คน  เข้าศึกษาดูงานระบบงานในส่วนต่าง ๆ ของศาลจังหวัดสงขลา แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ความรู้ และ หาวิธีการแก้ไขปัญหาข้อขัดข้อง ในการปฏิบัติงาน  และในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก นายธนกร พลายสาผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 ให้คำปรึกษาแนะนำด้วย  ../.
















ประวัติศาล
  
 
       ศาลแขวงนครศรีธรรมราช  จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ. 2499  และพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตอำนาจและวันเปิดทำการศาลแขวงในบางจังหวัด พ.ศ. 2500 พร้อมกับศาลอื่นๆ อีกหลายศาล เช่น ศาลแขวงสงขลา ศาลแขวงสุราษฎร์ธานี การจัดตั้งศาลแขวงขึ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายรัฐบาลในอันที่จะให้การพิจารณาพิพากษาคดีของศาลสำเร็จลุล่วงไปโดยเร็ว โดยได้แบ่งเบาภาระจากศาลจังหวัดสำหรับ คดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์เล็กน้อย และคดีอาญาที่มีอัตราโทษไม่มากนัก ตามที่กำหนดไว้ในพระธรรมนูญศาลยุติธรรรม ในเขตบางท้องที่ให้มีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง โดยเฉพาะในส่วนคดีอาญาได้มีบทบัญญัติในพระราชบัญญัติที่กล่าวมาข้างต้นกำหนดวิธีพิจารณาความสำหรับศาลแขวงไว้เป็นกรณีพิเศษเพื่อให้คดีได้ดำเนิน ไปโดยรวบรัดและรวดเร็ว
       
ศาลแขวงนครศรีธรรมราช ได้เปิดทำการครั้งแรกเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2500 โดยรวมอยู่ในอาคารศาลจังหวัดนครศรีธรรมราช จึงไม่สะดวกต่อมาการปฏิบัติราชการตลอดจนประชาชนผู้มาติดต่อ ต่อมากระทรวงยุติธรรมได้อนุญาตให้ศาลแขวงนครศรีธรรมราชย้ายไปอยู่ที่เรือนไม้ในบริเวณวัดร้องเสมาเมือง ถนนราชดำเนิน ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นเรือนไม้ซึ่งเคยใช้เป็นบ้านพักผู้พิพากษา โดยเริ่มเปิดทำการเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2504 แต่เนื่องจากอาคารหลังนี้เก่าแก่มาก ทั้งคับแคบขาดความสง่างาม จึงไม่เหมาะสมที่จะใช้เป็นอาคารศาลอย่างถาวร
       
ต่อมา พ.ศ. 2507 รัฐบาลได้จัดสรรงบประมาณให้ก่อสร้างอาคารศาลจังหวัดนครศรีธรรมราชและศาลแขวงนครศรีธรรมราชขึ้นใหม่ รวมอยู่ในอาคารเดียวกัน กระทรวงยุติธรรมได้จัดให้อาคารชั้นล่างด้านทิศใต้เป็นที่ทำการศาลแขวงนครศรีธรรมราช นับว่าเป็นสถานที่ซึ่งมีความโอ่โถงสวยงามและทันสมัย เหมาะสมที่จะใช้ในการอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนเป็นอย่างดี       ปัจจุบันนี้ คดีที่ขึ้นสูศาลแขวงนครศรีธรรมราชเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นเหตุให้ต้องมีการเพิ่มอัตรากำลังผู้พิพากษาและเจ้าหน้าที่ศาล เพื่อรับรองการขยายตัวของคดีดังกล่าว ในปี พ.ศ.2538 นายอรรณพ จุฬาพิมพ์พันธ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลแขวงนครศรีธรรมราชในขณะนั้น ได้เสนอเรื่องเพื่อของบประมาณดำเนินการก่อสร้างอาคารศาลแขวงนครศรีรรมราช และในปี พ.ศ. 2539 ได้ดำเนินการขอใช้ที่ดินสาธารณะประโยชน์เนื้อที่ประมาณ 14 ไร่เศษ บริวเณศูนย์ราชการแห่งใหม่ (แห่งที่ 2) หมู่ที่ 1 ตำบลนาเคียน อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อใช้ในการก่อสร้างอาคารศาลแขวงนครศรีธรรมราช ซึ่งในปีงบประมาณ พ.ศ. 2543 ศาลแขวงนครศรีธรรมราชได้รับงบประมาณก่อสร้างเป็นเงินจำนวน 25,175,400 บาท เพื่อใช้ดำเนินการก่อสร้างอาคาร ซึ่งเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก สูง 5 ชั้น พื้นที่ในอาคารประมาณ 10,580 ตารางเมตร มีห้องพิจารณาคดี 15 ห้อง จากสัญญาใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 600 วัน เริ่มต้นสัญญา วันที่ 30 กันยายน 2543 และมีการขยายระยะเวลาก่อสร้าง สิ้นสุดสัญญาก่อสร้างวันที่ 23 ธันวาคม 2545
        ศาลแขวงนครศรีธรรมราช ได้เปิดทำการอาคารศาลหลังใหม่แล้วตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2546 เป็นต้นไป หวังเป็นอย่างยิ่งว่าคงจะเกิดประโยชน์แก่ทางราชการในการปฏิบัติงานและคงจะเกิดประโยชน์แก่ประชาชน ผู้มาติดต่อราชการอย่างดียิ่ง



- คดีอาญา  มีอัตราโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- คดีมโนสาเร่,คดีผู้บริโภค และคดีสิ่งแวดล้อม ซึ่งราคาทรัพย์สินไม่เกินสามแสนบาท

เขตอำนาจศาล


 ยุทธศาสตร์
         เพื่อให้ บรรลุวิสัยทัศน์  ศาลยุติธรรมได้กำหนดยุตธศาสตร์ในการดำเนินงานให้ครอบคลุมทุกมิติรวมทั้ง กำหนดยุทธศาสตร์เชิงรุก  ที่จะสร้างพลังในการอำนวยความยุติธรรมแก่สังคม  จำนวน  5  ยุทธศาสตร์  ได้แก่

        ยุทธศาสตร์ที่ 1  การรักษาความเข้มแข็งและมุ่งสู่ความเป็นเลิศในการอำนวยความยุติธรรม
        ยุทธศาสตร์ที่ 2  การเพิ่มศักยภาพระบบสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรม
        ยุทธศาสตร์ที่ 3  การประสานความร่วมมือกับยุทธศาสตร์ชาติด้านข้อพิพาทในเชิงเศรษฐกิจภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
        ยุทธศาสตร์ที่ 4  การสนับสนุนและพัฒนาความร่วมมือด้านการยุติธรรมทั้งในและระหว่างประเทศ
         ยุทธศาสตร์ที่ 5  การให้บริการประชาชนและสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
พันธกิจ

                   พันธกิจที่ 1  การอำนวยความยุติธรรม
                                   -  การพิจารณาพิพากษาคดี
                                   -  การไกล่เกลี่ยและระงับข้อพิพาทด้วยวิธีการอื่น
                                   -  การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน

              พันธกิจที่ 2  การสนับสนุนการอำนวยความยุติธรรม

              พันธกิจที่ 3  การประสานความร่วมมือกับยุตธศาสตร์ชาติด้านข้อพิพาท
                                  ในเชิงเศรษฐกิจภายใต้บทบัญญัติแห่งกฎหมาย
                    
              พันธกิจที่ 4  การสนับสนุนและพัฒนาความร่วมมือด้านการยุติธรรม
                                  ทั้งในและระหว่างประเทศ

              พันธกิจที่ 5  การให้บริการประชาชนและสังคมเพื่อการพัฒนนาที่ยั่งยืน
วิสัยทัศน์
 

ศาลยุติธรรมเป็น สถาบันหลักในการอำนวยความยุติธรรม  และคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนด้วยความเที่ยงธรรมรวดเร็ว  และเสมอภาคภายใต้หลักนิติธรรม

Share this article :

0 ความคิดเห็น:

Speak up your mind

Tell us what you're thinking... !

Comment

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Proudly powered by Blogger
Copyright © 2011. ศาลจังหวัดสงขลา - All Rights Reserved
Template Design by Creating Website Published by Mas Template