Headlines News :
Home » » ประเพณีแข่งโพน – ลากพระ จังหวัดพัทลุง ประจำปี ๒๕๕๖

ประเพณีแข่งโพน – ลากพระ จังหวัดพัทลุง ประจำปี ๒๕๕๖

Written By Unknown on วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556 | 20:05

   เมื่อวันที่  ๑๖ ตุลาคม  ๒๕๕๖ เวลา ๑๘.๐๐ น. นายธีรศักดิ์  คงเทพ  ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดพัทลุง เข้าร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงาน ประเพณีแข่งโพน – ลากพระ  ประจำปี 2556  ณ เวทีกลางหน้าสำนักงานเทศบาลสำนักงานเมืองพัทลุง  ตำบลคูหาสวรรค์  อำเภอเมืองพัทลุง  จังหวัดพัทลุง/












งานประเพณีแข่งโพนลากพระ

ประวัติ / ความเป็นมา
          “โพน” เป็นภาษาท้องถิ่นของจังหวัดพัทลุง เป็นชื่อกลองซึ่งมีลักษณะเหมอน “กลองทัด” มีสามขา ตีด้วยไม้แข็ง 2 มือ หน้ากลองมีขนาดตั้งแต่ 35-100 เซนติเมตร ทำจากการเจอะไม้ต้นตาล หรือไม้ขนุน หน้าโพนนิยมหุ้มด้วยหนังควายหรือหนังวัวทั้งสองหน้า

การแข่งขันโพน เป็นประเพณีหนึ่งของภาคใต้ เชื่อว่าเริ่มมีขึ้นพร้อมๆ กับประเพณีชักพระเนื่องจากนิยมปฏิบัติต่อเนื่องกันมา ก่อนที่จะมีการชักพระในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 คือ ในช่วงออกพรรษาประมาร ปลายเดือน 10 วัดต่างๆ จะเตรียมจัดประเพณีชักพระ โดยเริ่มตั้งแต่การทำบุษบก หุ้มโพนะและคุมโพน (ตีโพน) ก่อน เพื่อให้ชาวบ้านตามหมู่บ้านต่างๆ ได้ทราบว่าทางวัดจะจัดให้มีการชักพระตามประเพณีที่เคยปฏิบัติเป็นประจำทุกปี แต่ส่วนมากวัดจะอยู่ในละแวกเดียวกัน ทำให้ชาวบ้านไม่ทราบว่าเสียงโพนที่ตีเป็นของวัดใด ทำให้แต่ละวัดแข่งเสียงโพนกันว่าโพนะวัดใดจะเสียงดังกว่ากัน ในระยะแรกๆ นั้นจะตีแข่งกันเองภายในวัด ต่อมาจึงค่อยๆ นำโพนมาประชันกันตามกลางทุ่นนา หรือสถานที่ที่จัดเตรียมไว้

ส่วนการหุ้มโพนก็ถือเป็นประเพณีที่สำคัญเช่นกัน เพราะการแข่งขันโพนนอกจากจะใช้ฝีมือผู้ตีแล้วก็อยู่ที่การหุ้มโพนด้วยเช่นกัน โพนจะดังหรือไม่ดังขึ้นอยู่กับการหุ้มโพน โดยที่แต่ละวัดถือเป็นความลับเริ่มด้วยการหาไม้มาตัดเป็นท่อน ตามความต้องการ แล้วนำไม้นั้นมาเจาะรูให้กลวงเท่ากันตลอด แต่โพนะที่ใช้เข่งวันนั้นจะเจาะรูภายในทั้งสองด้านเป็นรูปอกไก่ ทั้งนี้เพราะต้องการให้เสียงก้อง และเจาะรูลูกสักที่ขอบบนขอบล่างในระยะเท่าๆ กัน ใช้หนังควายตัดเป็นรูปกลมขนาดโตเท่าปากของไม้ที่เจาะรูไว้ นำไปแช่หัวข่าหยวกกล้วย เมื่อตากจนแห้งสนิทแล้วนำมาหุ้มสอดไม้ลูกสักตรงที่เจาะรูไว้ แล้วขึงให้ตึงทั้งข้างบนและข้างล่าง

กล่าวได้ว่า จังหวัดพัทลุงเป็นจังหวัดหนึ่งในภาคใต้ที่ยังรักษาประเพณีแข่งโพนไว้ ดังนั้นศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดพัทลุง จึงจัดงานประเพณีแข่งโพนลากพระขึ้น เพื่ออนุรักษ์ประเพณีของท้องถิ่น และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด ทั้งยังก่อให้เกิดความสนุกสนานการประลองความสามารถและความมีไหวพริบของผู้แข่งขัน รวมทั้งเป็นประเพณีที่เกี่ยวเนื่องกับศาสนา ก่อให้เกิดความรักในหมู่คณะและในท้องถิ่น โดยเริ่มจัดอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อปี 2531 ปีต่อมาการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยสนใจจึงสนับสนุนให้เป็นที่รู้จักกันทั่วไป

กำหนดงาน
          งานประเพณีแข่งโพนลากพระจัดขึ้นในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ประมาณเดือนตุลาคมของทุกปี ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดพัทลุง และลากพระที่หาดแสนสุข  สามารถตรวจสอบรายละเอียดได้ที่ www.tat.or.th/festival

กิจกรรม / พิธี
          การแข่งขันโพนแบ่งออกเป็น 2 อย่างคือ การแข่งขันมือ (ตีทน) ใช้เวลาแข่งนานจนกว่าผู้ตีจะหมดแรง ส่วนการแข่งขันอีกประเภทหนึ่ง คือ การแข่งขันเสียง ในเวลาการแข่งขันสั้น และเป็นที่นิยมมากกว่าการแข่งขันตีทน

ประเภทของการแข่งขันและประกวดโพนเสียงดัง มี 4 ขนาด คือ ขนาดเล็ก เส้นรอบวงไม่เกิน 120 เซนติเมตร ขนาดกลาง เส้นรอบวงไม่เกิน 147 เซนติเมตร ขนาดใหญ่ เส้นรอบวงไม่เกิน 190 เซนติเมตร และขนาดพิเศษ เส้นรอบวงเกิน 190 เซนติเมตร รวมทั้งยังมีการประกวดโพนสวยงามและประกวดลีลาท่าทางการตีโพนอีกด้วย
Share this article :

0 ความคิดเห็น:

Speak up your mind

Tell us what you're thinking... !

Comment

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Proudly powered by Blogger
Copyright © 2011. ศาลจังหวัดสงขลา - All Rights Reserved
Template Design by Creating Website Published by Mas Template