Headlines News :
Home » » ประชุมการจัดทำตัวชี้วัด

ประชุมการจัดทำตัวชี้วัด

Written By Unknown on วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 | 22:50

07/02/2554 ศาลจังหวัดสงขลาจัด ประชุมการจัดทำตัวชี้วัด ณ ห้องประชุมใหญ่  ศาลจังหวัดสงขลา




"การบริหารความเปลี่ยนแปลง (change management)" คือเรื่องที่ท้าทายและมีแนวโน้มคงอยู่จากอดีต สู่ปัจจุบัน รวมทั้งยังมีบทบาทสำคัญในอนาคตอีกด้วย หากถามเรื่องนี้เห็นจะเป็นจริง เพราะตอนนี้โลกหมุนเร็วและแคบขึ้นมากด้วยปัจจัยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี การเปลี่ยนผ่านระหว่างวัย (Generation) และ "ข่าวล่าสุดมีรายงานตามสื่อว่ามี 8 แบรนด์ดังที่ก่อตั้งมายาวนานปิดตัวลงเหลือเพียงชื่อ" เช่น Kodachrome ฟิล์มของค่ายโกดักที่เปิดตัวตั้งแต่ปี 2478 ที่โด่งดังในฐานะฟิล์มสีที่ประสบความสำเร็จในเชิงพาณิชย์มากที่สุดและใครต่อ ใครก็รู้จัก ร้านแซทเทิร์นแบรนด์รถยนต์ในเครือจีเอ็ม และโฮม ดีโป เอ็กซ์โป ของเชนค้าปลีกอุปกรณ์เครื่องใช้ภายในบ้าน เป็นต้น

    ปัจจัยภาวะผู้นำ (Leadership) ประเด็น Hot ตลอดหลายปีที่ผ่านมากำลังลดความสำคัญลง และเรื่องอื่นจะเข้ามาทดแทน?... ภาวะผู้นำใช่จะหมดสำคัญ แต่เป็นเพราะมีประเด็นอื่นมีความจำเป็นและโดดเด่นขึ้มามาก โดยเฉพาะ
"การจัดทำแผนทดแทนตำแหน่ง (succession plan) และการบริหารพนักงานศักยภาพสูง (talent management) เข้ามาทดแทน"... เนื่องจากโลกได้เข้าสู่ยุค "ไซเบอร์" หรือโลกยุคหลังสมัยใหม่ (Post-modern) แล้วการจัดการเรื่องคนจึงตกไปเป็นประเด็นข้างต้นแทน...

    การจัดการผลงาน (performance management) หายไป?!!... แต่หากพิจารณาผลที่เกิดขึ้นให้ดี "จะ ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ดูระบบการจัดการผลงาน" เพราะยังติด Top5 นั่นหมายความว่าอนาคตการจัดการผลงานในแต่ละองค์ยังคงเป็นเรื่องที่มีความ สำคัญ ตั้งแต่การกำหนดทิศทางองค์การ การตั้งเป้า ตัวชี้วัด และการถ่ายทอดตัวชี้วัดลงมาสู่ระดับพนักงานรายบุคคล แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพนักงานต้องมานั่งที่ Office แต่จะเป็นการส่งมอบผลงานโดยในลักษณะองค์กรเสมือนจริง จากมุมไหนของโลกก็ได้ ด้วยศักยภาพที่สูงของของพนักงานแต่ละคนนั่นเอง...


    จากแนวโน้มสิ่งท้าทายที่นำเสนอข้างต้น  คงต้องเตรียมการเพื่อรองรับ โดยเฉพาะการวางแผนสืบทอดตำแหน่งและการจัดการพนักงานศักยภาพสูง และเช่นเดียวกับเราในฐานพนักงานหรือผู้ที่กำลังเข้าสู่ตลาดแรงงาน คงต้องพัฒนาตนเองให้ Talent จริงๆ และไม่ "ทะ-เล้น" นะครับ...
ถาโถมเข้ามากระทบอย่างรุนแรง(อย่างหลีกเลี่ยงไม่พ้น)...  คือ "กระแสการเปลี่ยนแปลง" และหากองค์การหรือบริษัทใดไม่มีเสาหลักหรือภูมิคุ้มกันต่อเรื่องดังกล่าว อาจล้มหายตายจากไปจากเวทีการแข่งขันก็เป็นได้......




องค์ประกอบการกำหนดตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์

            1.  เป็นการถ่ายทอดจากบนลงล่าง
            2.  คำขึ้นต้นในการเขียนตัวชี้วัด
     -  ร้อยละ      (ตอบเป็น...ร้อยละ....)
     -  จำนวน     (ตอบเป็น...ครั้ง/วัน/สัปดาห์/เดือน/ชั่วโมง/เรื่อง/ระบบ/แผ่น/เล่ม/ฉบับ)
     -  ระยะเวลา  (ตอบเป็น...วัน/ เดือน/สัปดาห์)
3. ต้องมีหลักฐานแสดงความสำเร็จของงานที่สามารถนับได้ชัดเจน
4. ข้อกำหนดในการกำหนดตัวชี้วัด
     - วัดปริมาณผลงาน
     - วัดคุณภาพผลงาน
     - วัดความรวดเร็วหรือตรงตามเวลาที่กำหนด
     - วัดการประหยัด หรือความคุ้มค่าของการใช้ทรัพยากร
5. งานที่นำมากำหนดตัวชี้วัด
    - งานตามนโยบายหรือตามแผนยุทธศาสตร์
    - งานประจำตามหน้าที่ความรับผิดชอบ
    - งานที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
    - งานริเริ่มพัฒนา
6. เอกสารที่นำมาประกอบการกำหนดตัวชี้วัด
    - ภารกิจตามประกาศ ก.บ.ศ. เรื่องกำหนดโครงสร้างและการกำหนดอำนาจหน้าที่
    - หน้าที่ความรับผิดชอบตามมาตรฐานกำหนดตำแหน่ง  (เล่มเขียว)
    - เขียนคำบรรยายลักษณะงานของแต่ละตำแหน่ง (JD)
7. ค่าเป้าหมาย    กำหนดเป็น 5  ระดับ   วัดในรอบการประเมิน 15 ต.ค.53- 15 มี.ค.54
                           รอบ 2   ประมาณวันที่ 15 เม.ย.54  ถึง 15 ก.ย. 54  
ตัวอย่างที่ 1   ตัวชี้วัดผู้อำนวยการ  ในเรื่องของระยะเวลา
- ระยะเวลาที่เจ้าหน้าที่ทุกคนในหน่วยงานจัดทำตัวชี้วัดผลสัมฤทธิ์แล้วเสร็จ
คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
หลัง 20 พ.ย.53      
ภายใน 16-20  พ.ย.53      
ภายใน 15 พ.ย.53               
ภายใน 13-14 พ.ย.53          
ภายใน 10-12 พ.ย.53




ตัวอย่างที่ 2   ตัวชี้วัดผู้อำนวยการ  ในเรื่องของจำนวน 
- จำนวนกิจกรรมที่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จในระยะเวลาที่กำหนด

คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
5  กิจกรรมขึ้นไป      
  3 4  กิจกรรม      
     2  กิจกรรม               
    1  กิจกรรม          
เสร็จทุกกิจกรรม


ตัวอย่างที่ 3   ตัวชี้วัดสำหรับเจ้าหน้าที่ส่งหมาย  วัดในเรื่องของร้อยละ
- ร้อยละของหมายศาลที่สามารถส่งได้ภายใน 7 วันทำการนับจากวันเซ็นรับหมายไป

คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
ร้อยละ 11 ขึ้นไป      
  ร้อยละ7 10         
     ร้อยละ 94-95               
   ร้อยละ 96-97         
ร้อยละ 1-2


ตัวอย่างที่ 4  ตัวชี้วัดสำหรับเจ้าหน้าที่การเงิน  วัดในเรื่องของจำนวน (วัดคุณภาพ)
- จำนวนครั้งของความผิดพลาดที่รายงานเงินสดคงเหลือประจำวัน ไม่ตรงกับจำนวนเงิน
   เงินสดในมือ
คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
 4    ครั้งขึ้นไป
        3 ครั้ง
         2 ครั้ง    
      1  ครั้ง
   0   ครั้ง


ตัวอย่างที่ 5 ตัวชี้วัดด้านการบริหารบุคคล   วัดในเรื่องร้อยละ (วัดในเชิงปริมาณ)
- ร้อยละของเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานที่เข้ารับการอบรมทั้งภายในและภายนอก
  
คะแนนตามระดับค่าเป้าหมาย
1
2
3
4
5
ต่ำกว่าร้อยละ 15
     ร้อยละ 15-19
         ร้อยละ 20
      ร้อยละ 21-25
   ร้อยละ 26 ขึ้นไป

                                           ---------------------------
Share this article :

0 ความคิดเห็น:

Speak up your mind

Tell us what you're thinking... !

Comment

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Proudly powered by Blogger
Copyright © 2011. ศาลจังหวัดสงขลา - All Rights Reserved
Template Design by Creating Website Published by Mas Template