Headlines News :
Home » » โครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับกฏหมายสำหรับผู้ประนีประนอม ศาลจังหวัดสงขลา ปี 2553

โครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับกฏหมายสำหรับผู้ประนีประนอม ศาลจังหวัดสงขลา ปี 2553

Written By Unknown on วันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 | 20:57

วันที่ 11 พฤษภาคม 2553
นายอรุณ เรืองเพชร อธิบดี ผู้พิพากษาภาค 9 
นายประคอง เตกฉัตร ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลประจำสนง.อธิบดีผู้พิพากษาภาค 9 
นายสมศักดิ์ ประณิธิพงศ์ ผู้พิพากษาหัวหน้าศาลจังหวัดสงขลา
เข้าร่วมบรรยาย
                               โครงการอบรมความรู้เกี่ยวกับกฏหมายสำหรับผู้ประนีประนอม
ส่วนไกล่เกลี่ยและประนอมข้อพิพาทประจำศาลจังหวัดสงขลา
 ณ. ห้องประชุมใหญ่ ประจำศาลจังหวัดสงขลา





มารู้จักกับผู้ประนีประนอมประจำศาลกันเถอะ...

ผู้ประนีประนอมประจำศาล


ปัจจุบันการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมี บทบาทและมีส่วนสำคัญในการช่วยหรือเสริมให้การพิจารณาพิพากษาคดีเป็นไปอย่าง รวดเร็ว บุคคลหรือกลุ่มบุคคลคณะหนึ่งที่สมควรกล่าวถึงเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากมีส่วนสำคัญในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นศาล บุคคลที่ผมจะแนะนำให้พวกเราได้รู้จักคือ "ผู้ประนีประนอมประจำ ศาล"
คิดว่าพวกเราหลายคนคงน่าจะเคยได้ ยินชื่อนี้มาก่อน หรืออีกหลายคนก็อาจจะไม่เคยได้ยินชื่อนี้มาก่อน บุคคลเหล่านี้เข้ามาเกี่ยวข้องกับศาลได้อย่างไร เพราะเขาไม่ใช่ผู้พิพากษา ไม่ใช่เจ้าหน้าที่ของศาล ไม่ใช่ลูกจ้างของศาล ลองติดตามอ่านบันทึกนี้ดูก็คงจะรู้จักบุคคลกลุ่มนี้มากขึ้น
ผู้ประนีประนอม หรืออาจเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ผู้ ไกล่เกลี่ย หมายถึง บุคคลที่ได้รับการแต่งตั้งจากผู้รับผิดชอบราชการศาลเพื่อให้ทำหน้าที่เป็นคน กลางช่วยเหลือศาลในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
การไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หมาย ถึง การยุติหรือระงับข้อพิพาทด้วยความตกลงยินยอมของคู่ความเองโดยมีผู้ไกล่ เกลี่ยเป็นคนกลาง ช่วยเหลือ แนะนำ หาทางออกในการยุติหรือระงับข้อพิพาทให้แก่คู่ความ เพื่อนำไปสู่จุดหมายหรือข้อตกลงอันเป็นที่ยอมรับร่วมกันได้ทั้งสองฝ่าย
การขึ้นบัญชีผู้ประนีประนอม ผู้รับผิดชอบราชการศาลจะเป็นผู้คัดเลือกบุคคลที่มีความเหมาะสม โดยพิจารณาคุณสมบัติในเบื้องต้น กล่าวคือ มีบุคลิกภาพดี-มนุษยสัมพันธ์ดี-มีความน่าเชื่อถือ-จิตใจมั่นคงหนักแน่น-มี เหตุผล-เคารพความเห็นที่แตกต่าง-ไหวพริบปฏิภาณดี-มีความสามารถในการพูด อธิบายแสดงเหตุผลโน้มน้าวจูงใจ-เชื่อมั่นการแก้ปัญหาโดยสันติ-ไม่นิยมการ อำนาจความรุนแรง...เป็นต้น
ผู้รับผิดชอบราชการศาลพิจารณา บุคคลที่มีคุณสมบัติดังกล่าวแล้วจะแต่งตั้งขึ้นบัญชีให้เป็นผู้ประนีประนอมประจำศาล สำหรับจำนวนมากน้อยเท่าใดขึ้นอยู่กับขนาดและปริมาณคดีในแต่ละศาล มีกำหนดระยะเวลาขึ้นทะเบียนไว้เป็นเวลา ๑ ปี หรือ ๒ ปี ตามความเหมาะสม
การอบรมผู้ประนีประนอม สำนักระงับข้อ พิพาท สำนักงานศาลยุติธรรม เป็นผู้รับผิดชอบอบรมหลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยข้อพาทให้กับผู้ประนี ประนอม โดยจะอบรมทั้งในส่วนภาควิทยาการ และภาคปฏิบัติ จากนั้นจะฝึกฝนทักษะการไกล่เกลี่ยและการมอบคดีให้แก่ผู้ประนีประนอมเพื่อทำ การไก่เกลี่ยต่อไป
การขึ้นทะเบียนผู้ประนีประนอมประจำสำนักระงับข้อพิพาท ผู้รับผิดชอบราชการศาลทำการประเมินผู้ประนีประนอมที่ผ่านการอบรมและ ฝึกฝนทักษะ โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้คือ ผลสำเร็จของการไกล่เกลี่ย-ความรู้ความสามารถในการไกล่ เกลี่ย-ความพึงพอใจของคู่ความ-ความประพฤติของผู้ประนีประนอม ประกอบกับต้องมีคุณสมบัติและลักษณะไม่ต้องห้ามดังนี้คือ
๑.สำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่าปริญญาตรีและมีประสบการณ์ทำงานไม่ น้อยกว่า ๕ ปี หรือมีประสบการณ์ทำงานในสาขาที่เป็นประโยชน์แก่การไกล่เกลี่ยไม่น้อยกว่า ๑๐ ปี
๒.ผ่านการอบรมหลักสูตรเทคนิคการไกล่เกลี่ยฯจากสำนักงานศาล ยุติธรรม หรือหลักสูตรในลักษณะเดียวกันที่สถาบันอื่นจัด โดยสำนักงานศาลยุติธรรมให้การรับรอง และมีประสบการณ์ด้านไกล่เกลี่ยฯในศาลหรือศูนย์ไกล่เกลี่ยฯสำนักระงับข้อ พิพาทมาไม่น้อยกว่า ๑๐ คดี
๓.มีอายุไม่ต่ำกว่า ๒๕ ปี
๔.ไม่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการ
๕.ไม่เป็นบุคคลที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ คนเสมือนไร้ความสามารถ
๖.ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก...
เมื่อผู้รับผิดชอบราชการศาลเห็น ว่าบุคคลใดผ่านการประเมินและมีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะเสนอชื่อไปยังเลขาธิการ สำนักงานศาลยุติธรรมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประนีประนอมประจำสำนักระงับข้อ พิพาท มีกำหนดระยะเวลาขึ้นทะเบียนไว้ ๒ ปี
ผู้ประนีประนอมที่ได้รับการขึ้น ทะเบียนประจำสำนักระงับข้อพิพาท มีสิทธิทำหน้าที่เป็นผู้ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ทุกศาลทั่วราชอาณาจักร ซึ่งจะแตกต่างจากผู้ประนีประนอมที่ได้รับการขึ้นบัญชีประจำศาลไว้ จะมีสิทธิไกล่เกลี่ยข้อพิพาทได้ภายในศาลที่ตนเองได้รับการขึ้นบัญชีเท่านั้น
ผู้ประนีประนอมได้รับค่าตอบแทนตาม ระเบียบที่สำนักงานศาลยุติธรรมกำหนด แต่เป็นค่าตอบแทนที่ไม่มากนัก การอาสาเข้ามาเป็นผู้ประนีประนอมไม่ได้หวังค่าตอบแทนแต่อย่างใด แต่เป็นการอุทิศตนเพื่อช่วยเหลือราชการมากกว่า
การทำหน้าที่ของผู้ประนีประนอมใน การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทของคู่ความนั้น จะต้องดำรงตนในความเป็นกลางอย่างยิ่งยวด หากเอนเอียงเข้าข้างฝ่ายใดอาจถูกถอดถอนได้ ดังนั้นจึงขอให้คู่ความที่ต้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิทในชั้นศาล โปรดวางใจได้ว่าท่านจะได้รับความเป็นธรรมอย่างเต็มที่
ที่กล่าวมาข้างต้นน่าจะช่วยให้พวก เรารู้จักกับตัวตนของผู้ประนีประนอม รู้จักบทบาท ภาระหน้าที่ ของผู้ประนีประนอมมากขึ้น หากพวกเราเห็นว่าตนเองมีคุณสมบัติครบถ้วนและพอมีเวลาว่างอยู่บ้าง ก็ลองเสนอตัวเข้ามาทำงานทางด้านนี้ได้
Share this article :

0 ความคิดเห็น:

Speak up your mind

Tell us what you're thinking... !

Comment

 
Support : Creating Website | Johny Template | Mas Template
Proudly powered by Blogger
Copyright © 2011. ศาลจังหวัดสงขลา - All Rights Reserved
Template Design by Creating Website Published by Mas Template